21.7.10

Design in 2 week


Bracelet : various bead shaped,silver bead ,indie bead ,brass bell .ceramic bead of china and green turquoise .Made in thailand
สร้อยแขน : ลูกปัดหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น ลูกปัด จาก อินเดีย ลูกปัดเซรามิคจากจีน ทองเหลือง และ เทอร์คอยร์ เป็นลูกปัดที่มีจากหลากหลายประทเศ หลายแหล่งที่มา แต่เรานำมาผสมผสาน

รับทำตามออร์เดอร์ค่ะ ไม่วางขายที่ไหน



Bracelet crystal : Extra large handmade . Bracelet is matched with pastel pink peal,End with vintage crystal bead can use with all cloth .
สร้อยข้องมือ : สไตล์vintage เป็นลักษณะเอา รูปแบบมาประยุกต์ ให้เข้ากับยุคสมัย
สร้อยแขนชิ้นนี้ ใช้ คริสตัล และ ลูกปัดสไตล์ วินเทจ และ ไข่มุข เหมาะ สำหรับใส่ไปออกงานต่างๆ
ความยาว 15 นิ้ว
รับทำตามออร์เดอร์ คะ






12.7.10

History of bead in thailand


History of bead ! in thailand 

.......ขุดกรุ....เรื่องของลูกปัด

ลูกปัดแก้วโมเสคหลากหลายรูปแบบ
จากดินแดนโรมัน เมโสโปเตเมีย (ปาเธี่ยน - ซัสสาเนียน - เปอร์เซีย - อิสลามมิค)และอินเดีย
พบตามแหล่งชุมชนโบราณในประเทศไทย ตั้งแต่เพชรบูรณ์จรดกระบี่ 
อายุของลูกปัดประมาณพุทธศตวรรษที่ 5 - 15


ลูกปัดแก้วโมเสค  เปอร์เซีย - โรมัน (Mosaics -Persian - Roman)
 คือ ลูกปัดที่มีการจัดเรียงลวดลายของแก้วสีและเส้นสีที่สวยงาม มีความหมายในทางความเชื่อในอำนาจเหนือธรรมชาติ (Animism) และศาสนา เป็นเครื่องประดับหรือเครื่องรางที่เกิดขึ้นจาก เทคโนโลยี และ ภูมิปัญญา ของมนุษย์ ในการควบคุมความร้อนเพื่อการหลอมเหลว การคุมความหนืดของแก้ว เคมีและศิลปะในการรังสรรค์ลวดลายเส้นสีที่สวยงาม จัดเรียงได้อย่างลงตัว มีความหมาย
ลูกปัดแก้วโมเสค (Mosaic Glass Beads) ปรากฏตัวในวัฒนธรรมของมนุษย์เป็นครั้งแรก เมื่อราว 3,000  4,000 ปีที่แล้ว หลังจากการเกิดของเทคโนโลยีการหลอม แก้ว กว่าความงดงามจะเดินทางเข้ามาสู่ดินแดนตะวันออกของโลก ก็ต้องผ่านเรื่องราวมากมาย ซึ่งหนึ่งในนั้น ก็คือ เรื่องราวของ การค้าทางทะเล ที่ต้องอาศัย ลมมรสุม พัดพาเรือสินค้าวานิช จากตะวันตกสู่ตะวันออก จากอินเดียมายังสุวรรณทวีป ตามหลักฐานวรรณกรรมชาดก พระมหาชนก ที่มีเค้าโครงของเนื้อหา อธิบายการเดินทางของ ลูกปัดแก้วโมเสค เปอร์เซีย - โรมัน จากแดนไกล ได้เป็นอย่างดี
          เราอาจจะกล่าวได้ว่า อุษาคเนย์ หรือแผ่นดิน อินโด  แปซิคฟิค เริ่มรู้จัก นิยมและแสวงหาเครื่องประดับ ลูกปัดแก้วโมเสค - โรมัน เป็นครั้งแรก ภายหลังจากการรุกรานเข้าสู่อินเดียตะวันตกโดยชาวกรีก - มาซีโดเนีย
.
          เมื่อราวปี  327 ก่อนคริสตกาล (พุทธศตวรรษที่ 2 ) พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชา (Alexander The Great) พร้อม ด้วยกองทัพที่ยิ่งใหญ่ ประกอบด้วยไพร่พลจากมาซีโดเนีย กรีก อียิปต์ เอเชียไมเนอร์และเปอร์เซียน กว่า 150,000 คน มุ่งหน้าเข้ายึดครอง นครตักศิลา (Taxila) ซึ่งในเวลาไม่นานนับจากนี้ นครแห่งนี้ จะได้กลายเป็น ประตูการค้า (Trade Gate) ศูนย์กลางการคมนาคม (Hub) เชื่อมต่อดินแดนห่างไกลอย่าง เมดิเตอริเนียน อนาโตเลีย (ตรุกี) อียิปต์ ปาเลสไตน์ ซีเรีย เมโสโปเตเมีย เปอร์เซีย เข้าสู่ดินแดน ชมพูทวีป 
.
         และนี่ก็คือจุดเริ่มต้นของการ เชื่อมต่อ (Linking) อารยธรรมของมนุษย์ในโลกยุคโบราณเข้าหากันเป็นครั้งแรก !!!



.......ขุดกรุ....เรื่องของลูกปัด
ลูกปัดแก้วโมเสค จากอ่าวบ้านดอน
ที่พุมเรียง แหลมโพธิ์ ท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
มีจุดเด่นที่ลูกปัดหลายมนต์ตา สีน้ำเงิน ตาขาว ที่เรียกว่า "ลูกยอ" (Stratified eye beads)

  จากส่งครามครั้งยิ่งใหญ่ที่โลกยุคใหม่ไม่กล้าบันทึกว่าเป็นสงครามโลก ครั้งแรกของมวลมนุษย์ กองทัพแห่งจักรวรรดิกรีกได้รับชัยชนะเหนือชมพูทวีปตะวันตก ด้วยยุทธศาสตร์ของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ ที่ทรงยอมคืน อำนาจและเกียรติยศ ทั้งหมดคืนแก่ เหล่ากษัตริย์ท้องถิ่นผู้พ่ายแพ้ โดยแต่งตั้ง ผู้สำเร็จราชการ คอยควบคุม ภายใต้ศูนย์กลางการปกครองที่กรุงบาบิโลนเนียน
.
          ระบบการปกครองของอเล็กซานเดอร์ คือระบบจักรวรรดิ ที่รับอิทธิพลมาจากราชวงศ์ อาร์คีเมนิค (Achaemenid)” จักรวรรดิเปอร์เซีย ผู้ปกครองเมโสโปเตเมีย และถูกดัดแปลงมาผสมผสานกับความเชื่อในลัทธิศาสนา เรียกกันว่า จักรพรรดิราชา ส่งต่อมายังบ้านเมืองในอินเดีย และอุษาคเนย์ ในอีก หลายศตวรรษ ต่อมา          
.        
              เล่ากันว่า จอมราชันย์แห่งมาซีโดเนียมุ่งหวังที่จะยกกองทัพที่ไม่เคยพ่าย เดินทางรุกคืบหน้าต่อจากอินเดียไปอีกจนถึง ดินแดนสุดขอบโลก ที่ซึ่งเทพพระอาทิตย์ส่องสว่าง ตาม ความเชื่อ ที่ว่าโลกมีสัณฐานแบนและมีจุดสิ้นสุดที่ขอบโลก
             สุดขอบโลกจะเป็นที่ตั้งของแม่น้ำในตำนาน ชื่อ โอเชี่ยนแม่น้ำที่ไม่มีใครสามารถข้ามไปได้ แต่พระองค์ต้องการจะข้ามไปสู่สรวงสวรรค์ให้ได้ แต่ความมุ่งหวังของพระองค์ก็ต้องสิ้นสุดลงด้วยความขมขื่น เมื่อกองทัพที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลกในยุคโบราณต้องประสบกับความปราชัย เป็น ครั้งแรก เป็นความพ่ายแพ้ที่ปวดร้าวทางจิตใจ เมื่อเหล่าแม่ทัพและทหารหาญของพระองค์ที่เหนื่อยล้าและคิดถึงบ้าน เกินกว่าที่จะเชื่อฟังคำสั่งและเกรงกลัวอาญา


.......ขุดกรุ....เรื่องของลูกปัด

ลูกปัดโมเสคสี จากภาคใต้ ที่มีลวดลายแตกต่างกัน
แต่ส่วนใหญ่จะมีคติความเชื่อเรื่อง "ดวงตาเทพเจ้า" เป็นส่วนประกอบเหมือนกัน
ลูกปัตาทรงโยโย่ หรือรอก ลูกปัดนกยูงหรือลูกปัดแบบม้วนประกบ
ลูกปัดตาทรงรักบี้ ลูกปัดกากบาท ลูกปัดม้าสี หรือลูกปัดริ้วประกบ
ลูกปัดทรงทุ่นหรือที่เรียกว่า "ข้าวต้มมัด" (Collared beads or bipolar beads)รูปทรงเฉพาะของคลองท่อม มีลายพาดเฉียง บางครั้งถูกเรียกว่า "ลูกปัดทุ่น พาดฟิล์ม" ลูกปัดชนิดนี้พบมากที่คลองท่อมและกระจายไปยังลพบุรี มีสีเขียว ฟ้า และน้ำตาลไหม้



  พระเจ้าอเล็กซานเดอร์จึงจำต้องยกมหากองทัพกลับสู่บาบิโลนเนีย กองทัพที่ยิ่งใหญ่ได้ถอยกลับไปจากชมพูทวีปแล้ว .....และในเวลาไม่นาน จักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ก็เสด็จสู่ปรโลก ขึ้นไปสถิตอยู่กับ 
ซุสหรือ ซีอุส (Zeus) มหาเทพที่พระองค์กล่าวอ้างว่าเป็น พระบิดา อยู่เสมอ บนยอดโอลิมปัส (Olympus) การสิ้นพระชนม์โดยฉับพลันของพระองค์ก็ยังคงเป็นปริศนามาตลอดกาล
.
          หาก พระองค์ยังคงมีพระชนม์ชีพอยู่ มหากองทัพแสงยานุภาพแห่งมาซีโดเนีย ก็น่าจะเข้ามาสู่ที่ราบสูงทิเบอตัน สัปยุทธ์เอาชนะชาวฮั่นในช่วงที่กำลังแตกแยกในยุค จ้านกว๋อสือไต้  หรือยุคก่อนเกิด จิ๋นซีฮ่องเต้ประมาณ 200 ปี และพระองค์ก็คงกรีฑาทัพลงสู่แหลมไครเส เคอรโสเนโสสอันได้แก่ อุษาคเนย์ เอาชนะชนเผ่าป่าเถื่อนอย่างพวกมองโกลอยด์ ผสม นิกริโต

.......ขุดกรุ....เรื่องของลูกปัด
ลูกปัดหินกึ่งรัตนชาติ และลูกปัดแก้วสีเดี่ยว จากแหล่งชุมชนดบราณจังหวัดอ่างทอง

ถึงแม้ว่าการผลิต "ลูกปัด" จากวัตถุดิบ  "หินกึ่งรัตนชาติ" (Semi - Precious) อันได้แก่ "อะเกต คาลซีโดนี" สีน้ำตาลวาวสลับเลื่อม "โอนิกซ์" สีดำขาวตัดเส้นชั้นสวยงาม "คาเนเลี่ยน" สีส้มสด"คริโซเพรส" สีเขียวตองอ่อนใส หินแก้วผลึก "คลิสตัลควอทซ์" ของลุ่มน้ำสินธุ และ "ลาปิสลาซูลี่" สีน้ำเงิน "อเมทิส" พลอยดอกตะแบกสีม่วงและ "สตีไตท์"  สี แวววาว ที่มีแหล่งวัตถุดิบในตรุกีและเปอร์เซีย จะมีมานานกว่า 4,000 ปีแล้วก็ตาม แต่การใช้ประโยชน์และความนิยม ก็ยังคงกระจายตัวจำกัดอยู่ในเขตเมโสโปเตเมีย  อียิปต์ และอินเดียเท่านั้น
              เมื่อ ปรากฏอิทธิพลของชาวกรีกและลูกผสมกรีกอินเดีย (อารยัน) ในยุคสมัยของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชา ตามมาด้วยเหล่าผู้ปกครองใจกลางทวีปเอเชียอย่าง พระเจ้าซีเลอูคัส นิคาเตอร์ (Seleucus) พระเจ้าอันติโอคัส เทโอส (Amtiochus Theos) พระเจ้าหัวช้างเดเมตริอุส ( Demetrius)  และพระเจ้าเมนันเดอร์ (Menander) หรือพระเจ้ามิลินท์  ความต้องการสินค้าและความนิยมใน หินกึ่งรัตนชาติของชาวกรีก  โรมัน เปอร์เซียและอียิปต์ ได้เร่งเร้าให้เกิด อุตสาหกรรมการผลิต ลูก ปัดหินกึ่งอัญมณีขึ้นอย่างกว้างขวางในหุบเขาสินธุ และเกิดอุตสาหรรมการผลิตลูกปัดแก้วแบบกรีก โรมัน เปอร์เซียน อนาโตเลีย ตามเมืองท่าการค้าสำเภา ที่กำลังเติบโตขึ้นทั้งสองฝั่งคาบสมุทรอินเดีย


.......ขุดกรุ....เรื่องของลูกปัด
"คติความเชื่อ" เรื่องดวงตาปีศาจ - บรรพบุรุษ (evil eye beads) เป็นคติเริ่มต้นของการสร้าง "ลูกปัดมนต์ตา" มีความเชื่อว่าโลกนี้มีปีศาจหรือผีบรรพบุรุษคอยคุ้มครอง หากเรานำดวงตาปีศาจมาใช้ ในรูปแบบของเครื่องประดับหรือเครื่องราง ปีศาจก็จะคอยปกป้องคุ้มครองจากภัยอันตราย
คติความเชื่อเรื่องดวงตาจากยุคเก่าแก่ ได้ถ่ายทอดมาสู่ยุคต่อมา เกิดการสร้างลูกปัดที่มีดวงตา เรียกว่า Magical eye beads หรือลูกปัดตาที่มีอำนาจ และพัฒนาศิลปหัตถกรรมการประดิษฐ์ กลายมาเป็น "ลูกปัดโมเสค" ที่มีสีสันและลวดลายมากขึ้นกว่าเดิม
แต่ก็ยังมี "ดวงตาปีศาจ" เป็นลวดลายสำคัญ


.......ขุดกรุ....เรื่องของลูกปัด
ลูกปัดแก้ว เครื่องรางรูปดวงตาปีศาจหลากสไตล์
คติความเชื่อเก่าแก่ในโลกยุคปัจจุบัน
นิยมแขวนไว้หน้าบ้าน ทางเข้า หน้ารถและพกพา เพื่อป้องกันอุบัติเหตุและความโชคร้าย

ภายหลังเมื่อ พระเจ้าจันทรคุปต์ (Chandragupta)” สถาปนาราชวงศ์โมลียะ หรือ นกยูง ขึ้น ในปี 321 ก่อนคริสตกาล (พุทธศตวรรษที่ 3 ) ระดับสังคมและวัฒนธรรมของอินเดียที่ในตอนนั้นยังคงอยู่ใน ยุคเหล็กตอนปลาย ก็ได้ก้าวกระโดด ยกระดับขึ้นไปสู่ความเป็น อารยธรรม แบบตะวันตกเป็นครั้งแรก ด้วยอิทธิพลของศิลปวิทยาการจากชาวกรีก และเปอร์เซีย
.
                 ใน ยุคของพระเจ้าพินธุสารและพระเจ้าอโศกมหาราช พระราชบุตรทั้งสองพระองค์ของพระเจ้าจันทรคุปต์ อาณาจักรมคธราฐ ที่มีศูนย์กลางอยู่ที่นคร ปาฏลิบุตร” หรือ ปาลิโบตระ (Palibothra)ในเขตลุ่มแม่น้ำคงคา ได้กลับมามีอิทธิพลเหนือหุบเขาสินธุ แหล่งวัตถุดิบในการผลิต ลูกปัด หินกึ่งรัตนชาติอีกครั้ง และเมื่อจักรวรรดิกรีกเบคเตรีย (โยนก) เพลี่ยงพล้ำต่อจักรวรรดิใหม่ที่ยิ่งใหญ่กว่าอย่างโรมัน ในเมดิเตอริเนียน นครตักสิลา ประตูแห่งการค้าและวาณิช ก็ได้กลับคืนมาสู่อิทธิพลของราชวงศ์โมลียะโดยสมบูรณ์
.
            ด้วยอิทธิพลของศิลปวิทยาการนานาแขนงจากกรีกและเปอร์เซีย ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสังคมและวัฒนธรรมอย่างรวดเร็ว ชุมชนเมืองดั่งเดิมในอินเดียเหนือพัฒนาขึ้นเป็น สังคมเมือง (Urban Society)” มีการสร้างกำแพงเมืองด้วยหินและอิฐที่คงทน เพื่อป้องการรุกรานจากศัตรู มีการนำเทคนิคการก่ออิฐและหินมาใช้ในการก่อสร้างอาคาร ศาสนสถาน และแกะสลักรูปเคารพทางศาสนา
.
          พระเจ้าอโศกมหาราชได้สร้างระบบสาธารณสุข ระบบเงินตราที่นำเหรียญกษาปณ์แบบกรีก  เปอร์เซียมาใช้ในการซื้อขายแลกเปลี่ยน ทรงปรับปรุงระบบการสื่อสาร มีการใช้ตราประทับดินเผาเป็นสัญลักษณ์กลุ่ม และเกิดระบบไปรษณีย์ เป็นสื่อกลางในการติดต่อสื่อสารระหว่างสถาบันกษัตริย์ การเมือง การค้าขายและการศาสนา พัฒนาความรู้ทางด้านดาราศาสตร์  มีการวางระบบตัวอักษรพราหมี และ ขโรฐี ขึ้น ใช้เป็นแบบแผนทั่วจักรวรรดิ ทรงนำรูปแบบระบบปกครองแบบจักรวรรดิ ของเปอร์เซีย มาใช้ปกครองแคว้น มคธราฐ 





.......ขุดกรุ....เรื่องของลูกปัด
ลูกปัดโมเสคแบบริ้วประกบ หรือ "ม้าสี"
พัฒนามาจากลูกปัดแก้วที่พยายาม "เลียนแบบ" ลูกปัดอะเกต จนกลายมาเป็นลูกปัดที่มีสีสันอื่น ๆ
           ชาวโรมัน ปาเธี่ยนและเปอร์เซียน ได้ประดิษฐ์ลูกปัดแก้ว"เลียนแบบ" ลูกปัดหินอะเกต มีสีน้ำตาลเข้มไล่เรียงสีอ่อนเข้มไปยังสีขาว และต่อมาก็ได้พัฒนาสีสันจากเดิมที่เป็นเพียงสีน้ำตาลและดำให้กลายมาเป็นสี อื่น ๆ สลับสีไปมาเป็นจังหวะ (Steps) เรียกว่า "ลูกปัดโมเสคแบบริ้วประกบ" (Biconal Glass Beads)
.
          ลูกปัดแก้วสีเดี่ยว (Single Color glass Beads) ที่มีสีเดียว เม็ดกลมเล็กไปถึงใหญ่ สีทึบไปจนเกือบใส ทั้งสีแดงอิฐครั่ง สีเหลือง สีเขียว สีฟ้า สีมันปู สีม่วง สีดำ สีน้ำเงิน สีแก้วอ่อน ถูกผลิตขึ้นมากมายในอินเดีย โดยเฉพาะที่ชุมทางการค้า เมืองท่า อริกาเมฑุ ทั้งเพื่อใช้เป็นวัตถุนำ ในการผลิตและสามารถผลิตเป็นลูกปัดแก้วสีเดี่ยว


.......ขุดกรุ....เรื่องของลูกปัด
ลูกปัดแก้วสีเดี่ยว หรือลูกปัดลมการค้า "อินโด- แปซิฟิค" พบมากมายกระจายตัวไปทั่วภูมิภาค
.
            ทั้งลูกปัดโมเสค แบบอินโด  โรมัน ลูกปัดแก้วผังเส้นสีแต้มลวดลายพิเศษ ลูกปัดแก้วหลายมนต์ตา แผ่นแก้วแถบลวดลาย (Polychrome Glass) ลูกปัดแก้วสีเดี่ยวแบบดึง ยืด ตัด (Drawn Bead) และลูกปัดแก้วสีเดี่ยวเติมเส้นสี (Striped Beads) ที่ ถูกผลิตในเปอร์เซีย อินเดีย และลังกา ได้เดินทางเข้ามาสู่สุวรรณภูมิจรดเขตอินโด - แปซิฟิค กระจายตัวไปทั่วภูมิภาค ตามเส้นทางสำเภากำปั่นสลุปที่ล่องลอยมาตาม ลมมรสุม หรือ ลมสินค้า 


.......ขุดกรุ....เรื่องของลูกปัด
ลูกปัดแก้วสีเดี่ยวหรือ "ลูกปัดลมการค้า" มีเทคนิคในการผลิตโดยการ นำแก้วมาวางเป็นก้อนบนแกนเหล็ก แล้วดึงแก้วให้ยืดมาตามแกน เมื่อเคลือบแกนจนยาวได้ระดับเดียวกัน
โดยมีตัวรูดเป็นช่องขนาดเท่ากับแก้วที่ต้องการผลิต แล้วค่อยตัดเป็นเม็ด ๆ
จึงถูกเรียกว่า ลูกปัดแบบดึง ยืด ตัด (Drawn beads)
ในสุมาตราจะเรียกลูกปัดชนิดนี้ว่า "มูติศาลา" (Mutisala)
นักสะสมนิยมเรียกว่า "ลูกปัดลม"
.
          เฉพาะลูกปัดแก้วสีเดี่ยว ที่พบใน อุษาคเนย์ ถูกเรียกว่าลูกปัดแบบอินโด - แปซิฟิค  (Indo-Pacific Beads) หรือลูกปัดลมทะเลสินค้า (Trade wind beads) ก็เดินทางมาตามลมมรสุมการค้าเช่นเดียวกับลูกปัดหินกึ่งรัตนชาติ ลูกปัดโลหะ ทอง ตะกั่ว และลูกปัดแก้วโมเสค พร้อมกัน
.


.......ขุดกรุ....เรื่องของลูกปัด
ภาพ ลมมรสุมจากอินเดียมาสู่สุวรรณภูมิ
จากหนังสือ "พระราชนิพนธ์เรื่องพระมหาชนก ฉบับการ์ตูน"
.
          ลูกปัดทุกแบบจึงควรถูกเรียกว่า ลูกปัดแบบอินโด - แปซิฟิคหรือ ลูกปัดลม เช่นเดียวกันทั้งหมด แต่เพื่อความเข้าใจในการเข้ามาของวัฒนธรรมอินเดียอันส่งผลต่อการเกิด วัฒนธรรมทวารวดีและ ศรีวิชัย ในอุษาคเนย์ ชื่อของลมมรสุมที่พัดเรือสินค้าวาณิชเข้ามา จึงควรจะนำ วรรณกรรมชาดก ที่เป็นหลักฐานสำคัญแสดงให้เห็นถึงในการติดต่อเชื่อมโยงระหว่างสองทวีปในยุคโบราณเข้าด้วยกัน มาใช้เป็นชื่อของลมมรสุมว่า ลมการค้าพระมหาชนก(MahajanakaTrade Wind) ส่วนลูกปัดแก้วสีเดี่ยวก็คงยังนิยมเรียกว่า ลูกปัดลม เพื่อความง่ายต่อการเข้าใจเช่นเดิม
.
         เนื่องจากความง่ายของเทคนิคในการผลิต รวมถึงวัตถุนำอย่างก้อนแก้วปฐมภูมิ และ ก้อนแก้วทุติยภูมิ (แก้วผสมสีแล้ว) ที่สามารถ นำเข้า มาจากเมืองท่าในอินเดีย ในราวพุทธศตวรรษที่ 7 10 จึงเกิดการตั้ง สถานีการค้า  - ชุมทางการค้าและตลาดกระจายตัวไปทั่วอุษาคเนย์ และกลายมาเป็น ผู้ผลิตลูกปัดแก้วหลากลวดลายสีสัน ขยายตัวจากอินเดียและลังกามายังเมืองท่าในคาบสมุทรมาลายู ของประเทศพม่า ไทย เวียดนาม ฟิลลิปปินส์ อินโดนิเซีย และหมู่เกาะต่าง ๆ ในแปซิคฟิค  ส่งขายเป็นสินค้าต่อมายังภูมิภาค ด้านใน แผ่นดินที่ห่างไกลจากทะเล ตามลุ่มน้ำต่าง ๆ ของสุวรรณภูมิและตามหมู่เกาะอีกทีหนึ่ง

.......ขุดกรุ....เรื่องของลูกปัด
แผนที่แสดงเขตที่พบลูกปัดโมเสคในประเทศไทยและเมียนมาร์
อายุตั้งแต่ พุทธศตวรรษที่ 4 - 15
. 
          ลูกปัดแก้วโมเสค  เปอร์เซีย - โรมัน ในเขตประเทศไทย พบหนาแน่นตามชุมชนโบราณชายฝั่งทะเลในภาคใต้ทั้งสองฝั่งทะเล ด้วยมี ถนน เชื่อมต่อสองฝั่งคาบสมุทรเข้าด้วยกันแบบเดียวกับในอินเดีย กระจายตัวไปสู่ชุมชน หัวเลี้ยวหัวต่อ ในยุคก่อนปรากฏวัฒนธรรมทวารวดี ในภาคกลาง อีสานและเหนือ
.         
                  การเสาะหาลูกปัดโบราณ ลูกปัดแก้ว ลูกปัดแก้วโมเสค เครื่องมือเครื่องใช้จากแก้ว และก้อนแก้ว เริ่มต้นในราวปี 2520 ภายหลังจากขุดหาลูกปัดและวัตถุโบราณในเขตเมืองอู่ทอง บ้านดอนระฆัง ดอนเจดีย์ บ้านสวนแตง ฯลฯ ในเขตจังหวัดสุพรรณบุรี ที่พบลูกปัดหินกึ่งรัตนชาติ และลูกปัดนานาชนิด มีอายุตั้งแต่ต้นพุทธศตวรรษ อีกทั้งยังพบลูกปัดแก้วแบบโมเสค  เปอร์เซีย - โรมัน ฝังรวมอยู่กับลูกปัดกึ่งรัตนชาติแบบอินเดียเป็นจำนวนมาก

.......ขุดกรุ....เรื่องของลูกปัด
ลูกปัดแก้วโมเสค ที่ใช้เทคนิคในการเรียงแก้ว ยืด ประกบ ปะ ม้วน ผังเสนสีแต้มลวดลายและแถบสีพันทบ เป็นลวดลายและมีสีสันที่หลากลาย แต่ก็ยังคงคติความเชื่อเรื่อง "ดวงตาเทพเจ้า - ดวงตาปีศาจ" (Magical eye beads) ป้องกันภัยร้าย ทั้งตาเดียวและหลายตา
ลูกปัดแบบนี้ เรียกกันในภาษาชาวบ้าน ว่า ตาตั๊กแตน ลูกหวาย
งูเหลือม ธงฝรั่ง ดอกไม้ นกยูง โยโย่ และม้าลาย
สีสันเหล่านี้เป็นเสน่ห์ที่ทำให้ผู้คนยุคใหม่ ต่างต้องการที่จะเป็นเจ้าของ และครอบครอง จนนำไปสู่การขุดหาและทำลาย "หลักฐาน" แหล่งผลิตและชุมชนการค้า ในเขตคาบสมุทรภาคใต้
.
           ความนิยมในความงดงาม แวววาวของ ลูกปัดโบราณ ที่ขุดได้จาก "หลุมศพ" ได้กลายมาเป็นความนิยมอย่างสุดขีด แหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ในสุพรรณบุรี กาญจนบุรี อุทัยธานีถูกลักลอบขุดทำลายโดย ย่อยยับ เพื่อนำลูกปัดโบราณหลากชนิดมาสู่ตลาดการค้า ซึ่งจะมีตลาด สนามหลวง และย้ายมาที่ จตุจักรในกรุงเทพมหานคร เป็นศูนย์กลางการค้าลูกปัดโบราณ
.
           ว่ากันว่ามีการ ปริวรรตเงินตรา จากธุรกิจการค้า ลูกปัดโบราณ จากหลุมศพเป็นจำนวนเงินมหาศาลและมีมูลค่ามากขึ้นในทุกวันนี้ !!!
.
           เมื่อแหล่งหลุมศพโบราณในยุคที่ ลูกปัด เรืองรอง ในจังหวัดสุพรรณบุรีและใกล้เคียง ถูกทำลายจนหมดสิ้น เหล่านักขุดหา ล่าลูกปัด ซึ่งในช่วงแรกเป็นเพียงชาวสุพรรณ ฯ ก็ได้เริ่มกระจายตัวไปคนละทิศทางเพื่อเสาะหา แหล่ง ลูกปัดแหล่งใหม่  กลุ่มหนึ่งลงไปยังปากน้ำพุมเรียง พบกับลูกปัดที่ชาวบ้านเรียกว่า ลูกยอ และลูกปัดแก้วสีโมเสคเรียงลวดลาย กลุ่มนักล่าลูกปัดจึงย้ายแหล่งลงไปเพื่อขุดหาลูกปัดแก้วโมเสค ซึ่งในตอนนั้น (ถึงตอนนี้) เป็นที่นิยมในตลาดการค้าลูกปัดและเครื่องประทับ ทำทอง  ประกอบทอง เป็นอย่างมาก


.......ขุดกรุ....เรื่องของลูกปัด
ลูกปัดแก้วแบบผสมผสาน (Multi - Polychrome Glass) ลักษณะเด่นของลูกปัดโมเสคในเขตระนอง - พังงา เป็นลูกปัดที่มีการจัดเรียงสีสัน จากแผ่นแก้วที่มีลวดลายอยู่แล้ว มาปะต่อบนแกนเหล็ก จนเป็นริ้วลวดลายแบบพิเศษ พบจำนวนไม่มากนัก ซึ่งก็คงเป็นงานฝีมือ "หัตถกรรม" ของช่างแก้ว เพียคนเดียวหรือเป็นกลุ่ม จึงผลิตได้ไม่มาก เพราะมีความซับซ้อน
ลูกปัดลวดลายนี้น่าจะเรียกว่า "ตาแมงมุม"
.
           แหล่งลูกปัดที่คอเขา เขาทอง น้ำเค็ม ทุ่งตึก ในเขตจังหวัดพังงา ระนอง เขาสามแก้ว ในจังหวัดชุมพร คลองท่อม ในจังหวัดกระบี่ พุมเรียง แหลมโพธิ์ ท่าชนะในจังหวัดสุราษฏร์ธานี และอีกหลายแห่งในภาคใต้ ล้วนถูกเหล่านักขุดหา ล่าลูกปัด ลักลอบขุดขึ้นมาขายเป็นจำนวนมาก ตั้งแต่ปี 2525  - 30 เป็นต้นมา
.
           เมื่อคนต่างถิ่น เข้ามาขุดหาสมบัติ ชาวบ้านในท้องถิ่นก็เริ่มเรียนรู้ ทั้งวิธีการ เทคนิคการขุด วิธีการหาแหล่งโดยการดูเศษกระเบื้องดินเผาเล็ก ๆ บนผิวดิน และ ชื่อ ของลูกปัดแก้วโมเสคที่จดจำมาจากคนขุดชาวสุพรรณ เมื่อเวลาผ่านไป ผลกำไรจากการขายลูกปัดของคนขุดต่างแดน ได้เร้าใจให้คนท้องถิ่น เริ่มต้นขุดเองและเกิดการแข่งขัน ปิดบัง กีดกัน รวมทั้งขับไล่คนขุดจากเมืองสุพรรณ ให้ออกไปจากพื้นที่ แหล่งขุมทรัพย์ ของตน แล้วก็ลงมือขุดเอง ขายเอง เหลือก็นำมาห้อยคอ ปั่นราคา คนอยากได้ครอบครอง ก็ต้องมาเค้นขอซื้อ ราคาก็สูงขึ้นเนื่องจากเป็นของหายาก ปรากฏการณ์นี้ได้ขยายไปทั่วทุกแหล่ง ลูกปัด ในภาคใต้


.......ขุดกรุ....เรื่องของลูกปัด
ลูกปัดแก้วสีเดี่ยวหลากสี หรือ "ลูกปัดลมการค้า"
และ รูปทรงทุ่นหรือ"ข้าวต้มมัด" (Collared beads or bipolar beads) สีอิฐครั่ง
เป็น ลูกปัดแก้วขนาดเล็กที่พบมากที่สุด เชื่อว่าแหล่งผลิตย้ายจากชุมชนการค้าจากอริกาเมฑุในอินเดียมายังสุวรรณภูมิ ในราวพุทธศตวรรษที่ 9 เป็นต้นมา
.
         ลูกปัดแก้วสีโมเสคและลูกปัดอื่น ๆ จากพม่าจะมีราคาถูกกว่า และเหมือนกับที่พบในประเทศไทย จึงมักจะถูก พ่อค้าผู้คล่ำหวอดลักลอบนำเข้า แล้วมา ฝังหลุม ขาย อ้างว่าขุดพบจากแหล่งในเมืองไทย เพื่อการปั่นราคาและสนองตอบต่อความต้องการของนักสะสมผู้ร่ำรวย ที่อยากได้ลูกปัดแก้วโมเสคที่เชื่อเองว่า เมดอินไทยแลนด์ นี้ไว้ในครอบครอง


.......ขุดกรุ....เรื่องของลูกปัด
ลูกปัดหลายมนต์ตา หรือ "ลูกยอ" (Stratified eye beads) พบในแหล่งชุมชนโบราณทั่วประเทศไทย นำเข้ามาจากเปอร์เซีย ตั้งแต่ในราวพุทธศตวรรษที่ 8 เป็นต้นมา
.
          เมื่อนักขุดหา ล่าลูกปัด ไปถึงท้องถิ่นใด คนท้องถิ่นนั้นก็ได้เรียนรู้ ในการขุดหาและสอนต่อไปยังถิ่นอื่น ๆ จนเกิดเป็น กลุ่มขบวนการ หรือ ทีมงาน ขุดหา ลูกปัดโบราณ โดยเฉพาะ
.
          และนี่ก็คือจุดเริ่มต้นของ หายนะ ทางวิชาการครั้งใหญ่ เพราะมันได้ทำลายหลักฐานแวดล้อม อื่น ๆ" เช่นโครงกระดูก เครื่องมือเครื่องใช้ที่ไร้ค่า ร่องรอยโลหกรรม อาหาร การตั้งถิ่นฐาน เทคโนโลยี ละอองเรณูและพืชพรรณ ฯลฯ ที่ล้วนแต่สามารถอธิบายพัฒนาการของผู้คนบนแผ่นดินไทยให้ สาบสูญ ไปตลอดกาลโดยไม่รู้ตัว


.......ขุดกรุ....เรื่องของลูกปัด
ลูกปัดแก้วโมเสค แบบหนึ่งในหลายรูปแบบที่มีการเรียงแก้วสีเป็นแผ่นแบนก่อน (เพื่อสะดวกในการเคลื่อนย้ายหรือนำไปประดิษฐ์ในที่อื่น ๆ ) แล้วจึงค่อยนำมาม้วนรอบแกนเหล็ก
ทำเป็นลูกปัดแบบม้วนพัน (wounded mosaic glass beads)
.
          ชื่อของลูกปัดแก้วโมเสค - เปอร์เซีย - โรมัน ที่เรียกกันในภาษาชาวบ้าน ว่า  ลูก ยอ นกยูง แสลน ตาปลาหมึก อินเดียแดง หน้าคน สุริยเทพ กบกะเขียด หนอน นกแก้ว ม้าลาย ม้าสี ลูกหวาย งูเหลื่อม ตาตั๊กแตน ตามดแดง ตามดดำ ทุ่นลายพาดฟิล์ม ใบพัด ธงฝรั่ง ดอกไม้ กังหัน กากบาท ข้าวต้มมัด ฯลฯ"  ล้วนแล้วก็คือ ชื่อ ที่เกิดขึ้นจากการลักลอบขุดค้น โดยนักขุดหา ล่าลูกปัดทั้งจากคนต่างถิ่นและในท้องถิ่น เพื่อค้นหา ลูกปัดโมเสค –โรมัน ชื่อเหล่านี้ดูจะกลายเป็น อนุสรณ์ ของ หายนะทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์และโบราณคดี" ครั้งใหญ่ในรอบ 3 ทศวรรษที่ผ่านมา
.
           แล้วในวันนี้ เราจะรักษาเรื่องราวของหลักฐานอารยธรรมบนเส้นทาง ลมการค้าพระมหาชนก ได้อย่างไร หากความนิยมและการสะสมของผู้คนที่ยังไม่มีทีท่าว่าจะหยุดลง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ การขุดหาและทำลายก็คงจะต้องยังมีต่อไปในทุกหนแห่ง จนเชื่อได้ว่า แหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ที่มีลูกปัดโบราณฝังรวมอยู่ ได้ถูก ทำลายล้าง ไปมากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์แล้วในวันนี้ !!!


.......ขุดกรุ....เรื่องของลูกปัด
ลูกปัดโมเสค หลากหลายรูปแบบและเทคนิคการผลิต
พบในภาคใต้ของประเทศไทย นำเข้ามาตามเส้นทางไหมและเส้นทางการค้า "พระมหาชนก"


.......ขุดกรุ....เรื่องของลูกปัด
ชาวบ้านจะเรียกว่าลูกปัดลายลูกหวาย เป็นลูกปัดโมเสคที่มีเทคนิคในการพันแกน ผสมสีแก้ว สองสี ทำเป็นแห่นก่อน แล้วค่อยนำแผ่นแก้วลวดลายตารางมาพันแกนเหล็ก
แล้วยืดไปตามทิศทางเดียวกัน แล้วค่อยตัดเป็นเม็ด

.......ขุดกรุ....เรื่องของลูกปัด
ลูกปัดแก้วสีเดี่ยวแบบเรียงแถบสี (Striped beads) ที่เรียกกันว่า "แสลน"
เป็นลูกปัดที่ใช้เทคนิคการเคลือบสีบนลูกปัดแก้วสีเดี่ยว
ด้านบนลูกปัดเม็ดสีเขียว เขียวเข้ม เคลือบแถบวีเหลือง แดง ขาว น้ำเงิน
เรียกว่า "แสลนธงชาติ" เพราะดูเหมือนมีลายสีธงชาติไทย
กลางขวาสีดำ ขีดสีขาว เหลือง แดง เรียกว่า "แสลนโซ่ง" 
เพราะพบลูกปัดแบบนี้มากมายแถบบ้านโว่ง ในอำเภออูทองในครั้งแรก
ล่างซ้ายสีเขียวขีดเหลือง ขาว แดง หรือดำเรียกว่า "แสลนศรีวิชัย"
 พบมากทางภาคใต้ และทั่วประเทศ 
และล่างขวาสีน้ำเงินขีดขาวเรียกว่า "แสลนน้ำเค็ม" พบครั้งแรก ๆ ที่บ้านน้ำเค็ม จังหวัดพังงา


.......ขุดกรุ....เรื่องของลูกปัด
ลูกปัดโมเสค ที่เรียกว่า "ม้าลาย" สีขาวดำ และ "ม้าสี"
ผลผลิตจากการพยายามเลียนแบบลูกปัดหินอะเกตของชาวโรมัน ในยุคพุทธศตวรรษที่ 4 
จนนำไปสู่การ "เลียนแบบ"
และพัฒนามาจากเป็นลูกปัดแบบ "ประกบ" สีเป็นริ้วสีสลับ มีเส้นขาวคั่น ในหลายร้อยปีต่อมา


Related Posts with Thumbnails